วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ข่าวดาราศาสตร์ : ค้นพบดาวเคาะ เอ๊ย..ดาวเคราะห์เพชรดวงใหม่แห่งกาแล้กซี่

.
.
ว่ากันว่าเพชรเม็ดงามนั้น ควรคู่กับสาวสวย แต่ลองถ้าเป็นเพชรเม็ดใหญ่เท่าดาวเนปจูนล่ะ ? ก็คงต้องคู่กับนักดาราศาสตร์สิเนาะ อิอิ

ข่าวดาราศาสตร์ แสนอึ้งตะลึงงันเช้าวันศุกร์จากเคลิ้มมม..สมาคม มาส่งอีกแล้วจ้า

เมื่อเร็ว ๆ นี้ วงการดาราศาสตร์ทั้งในและนอกประเทศ ต่างต้องตะลึงงัน เมื่อพบว่า มีดาวดวงนึงซึ่งส่งประกายเจิดจรัสอยู่บนฟากฟ้าดั่งดาราเพชร และเป็นเพชรเม็ดขนาดเท่าดาวที่มีอยู่จริง แถมอยู่ในดาราจักรทางช้างเผือกเราเองซะด้วยดิ่ ไม่ใกล้ไม่ไกลฮ่ะคุณพี่ แค่ 4,000 ปีแสงจากโลกแค่นั้นเอ๊งงง.... (คาดว่านั่งรถเมล์สาย 8 ในตำนานไปน่าจะถึงนะ กร๊ากกก..)




ดาวเคาะห์เพชรดวงนี้ อยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวงูฮ่ะ เป็นบริวารของ พัลซาร์ พีเอสอาร์ เจ 1719-1438 (PSR J1719-1438) ซึ่งค้นพบโดยคณะนักวิจัยนานาชาติที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ไซโร (CSIRO) ของหอดูดาวพากส์ในออสเตรเลีย การสำรวจของคณะนี้ทำโดยถ่ายภาพตามจุดต่าง ๆ ของท้องฟ้าต่างกัน 90,000 จุด แต่ละจุดใช้เวลารับแสงนาน 9 นาที

แล้วไอ้เจ้าพัลซาร์นี่มันคืออะไร...พัลซาร์นี้ จะเกิดขึ้นเมื่อดาวฤกษ์ดวงหนึ่งได้ยุบลงไปเป็นดาวนิวตรอน ฮ่ะ พัลซาร์ทั่วไปมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 20 กิโลเมตร มันจะยิงคลื่นวิทยุออกมาเป็นลำและกวาดออกไปในอวกาศ หากลำนั้นชี้มายังโลก และมีกล้องโทรทรรศน์ส่องอยู่ที่ตำแหน่งนั้น กล้องก็จะมองเห็นคลื่นวิทยุแผ่ออกมาเป็นพัลส์สั้น ๆ หากพัลซาร์นั้นมีดาวเคราะห์โคจรรอบอยู่ด้วย แรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์จะรบกวนพัลส์นี้ซึ่งตรวจจับได้ และนี่คือสาเหตุที่นักดาราศาสตร์ตรวจพบดาวเคราะห์ของพัลซาร์นี้ ปัจจุบันพบว่ามีพัลซาร์ราว 70 เปอร์เซ็นต์ที่มีดาวเคราะห์เป็นบริวาร (โอ้ว ยังงี้นี่เอง)





จากการวิเคราะห์การกล้ำของพัลส์วิทยุ นักดาราศาสตร์สามารถวัดคาบการโคจรรอบพัลซาร์ ระยะห่างจากพัลซาร์ และขนาดของดาวเคราะห์บริวารได้ สำหรับบริวารของ พีเอสอาร์ เจ 1719-1438 นี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า 60,000 กิโลเมตร อยู่ห่างจากพัลซาร์ 600,000 กิโลเมตร และโคจรรอบพัลซาร์ครบรอบทุก 2 ชั่วโมง
       
ตามข่าวเค้าบอกว่า แม้ดาวเคราะห์ดวงนี้จะมีขนาดค่อนข้างเล็ก  แต่มีความหนาแน่นมากกว่าดาวพฤหัสบดีที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 142,984 กิโลเมตร (เล็กกว่าแต่เนื้อแน่นกว่า ว่างั้นเหอะ)
       
ความหนาแน่นที่สูงกว่าปกตินี้เองฮ่ะ ที่เป็นเบาะแสถึงต้นกำเนิดที่ไม่ธรรมดาของดาวเคราะห์ดวงนี้ เมื่อนักดาราศาสตร์ศึกษารายละเอียดแล้ว กลับพบว่าแท้จริง ไอ้เจ้าดาวเคราะห์นี้เป็นซากของดาวฤกษ์มวลสูง ดาวฤกษ์ดวงนี้เคยเป็นดาวสหายกับพัลซาร์ เจ 1719-1438 มาก่อน สันนิษฐานว่ามันได้โคจรรอบพัลซาร์และตีวงแคบเข้าเรื่อย ๆ ทำให้พัลซาร์หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงมากพร้อมกับดึงดูดสสารจากผิวของดาวฤกษ์ไป




       
ปัจจุบันนี้กระบวนการแย่งสสารได้ยุติลงแล้วฮ่ะ และระบบก็เข้าสู่เสถียรภาพแล้ว พัลซาร์ เจ 1719-1438 ได้กลายเป็นพัลซาร์มิลลิวินาทีที่หมุนรอบตัวเองเร็วถึง 10,000 รอบต่อนาที
       
ส่วนดาวฤกษ์ในอดีตที่ถูกสูบเลือดสูบเนื้อไปมากถึง 99.9 เปอร์เซ็นต์ของมวลเดิม ขณะนี้หลือเพียงแกนที่เป็นคาร์บอน และด้วยเหตุที่มีความดันมหาศาล ทำให้คาร์บอนนี้มีโครงสร้างเป็นผลึกแบบเพชร แต่คาร์บอนในดาวดวงนี้จะมีความหนาแน่นมากกว่าเพชรบนโลกมาก

ไงล่ะ..อ่านข่าวนี้แล้วแทบจะวิ่งไปจดทะเบียนตีตราจองดาวเพชรดวงนี้เป็นของตัวเองเลยล่ะดิ่ อ่ะ..ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แระ เปิดเผยตัวเลยละกัน ใครที่อยากจดทะเบียนเป็นเจ้าของดาวดวงไหนบอกได้นะค้าา..อิชั้นรับจดให้ค่าาา คิดค่าจดเพียงแค่เอเคอร์ละ 999 บาท (ไม่รวมค่าทองเปลวติดหัวสัญญาอีก 9 แผ่น) เท่านั้นเอ๊งงง..รับจดได้ทั่วกาแล้กซี่เลยค่าาา..รีบมาจดกันเร็ว ๆ นะค้า ช้าหมดอดจดด้วย 55555555+ (หากินง่ายเนอะ กรั่ก ๆ ๆ)